วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

        
             อาจารย์ทบทวนความรู้เดิม จากวันแรกที่เราเจออาจารย์ในวิชา การจัดประสบการณ์
เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์สอนอะไรไปบ้าง? สิ่งที่อาจารย์สอน
คือ ความรู้พื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ สอนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้มีความคิดริเริ่ม >>
ความคิดคล่องแคล่ว >> ความคิดยืดหยุ่น >> ความคิดละเอียดละออ  ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิด
ความคิดสร้างสรรค์

    
เนื้อหาการเรียน

     เมื่อเห็นภูเขานึกถึงอะไร?
      - ต้นไม้         - สายน้ำ
      - อากาศ       - หิน 
      - ดิน             - สัตว์
      - สามเหลี่ยม - เส้นโค้ง 
          
  ทั้งหมดนี้เรียกว่า "ความคิดสร้างสรรค์มางภาษา"
     
    การเคลื่อนไหวและจังหวะที่นำมาใช้ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
        - การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
        - การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
        - การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
        - การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
        - การเคลื่อนไหวนตามข้อตกลง
         - การเคลื่อนไหวแบบความจำ




       * องค์ประกอบ *
         - การใช้ส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรม
         - การหาพื้นที่ในการทำกิจกรรม
         - จังหวะในการทำกิจกรรม

          ต่อมา อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันให้ได้ 6 กลุ่ม แล้วเลือกหัวข้อเพื่อที่จะทำการสอน


กลุ่มที่ 1 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง




กลุ่มที่ 2 การเคลื่อนไหวประกอบเพลง




กลุ่มที่ 3 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม




กลุ่มที่ 4 การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย




กลุ่มที่ 5 การเคลื่อนไหวแบบความจำ



กลุ่มที่ 6 การเคลื่อนไหวพร้อมอุปกรณ์




ความรู้ที่ได้รับ
         กระบวนการจัดกิจกรรมให้เด็ก สามารถจัดให้สอดคล้องกับพฒนาการทั้ง 4 ด้าน 
และจัดให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันได้ โดยการนำการเรียนการสอนไปบูรณาการ
ให้เกิดการเรียนรู้ที่ทันสมัย

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก


วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เมื่อมาถึงห้องเรียนแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษานำเสนอสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ 
ไม่ว่าจะเป็นของที่สามารถทดลองได้ ของที่สามารถเล่นได้ และสามารถใช้งานได้

"ตู้ลิ้นชักกล่องกระดาษ"



วัสดุอุปกรณ์
1. กระดาษลังเหลือใช้
2. ปืนกาว
3. ฝาขวดน้ำ
4. ไหมพรม

ขั้นตอนการทำ

1. นำกระดาษลังมาประกอบกันให้มีลักษณะเป็นกล่อง 4 เหลี่ยม 
แล้วใช้เศษกระดาษลังประกอบให้มีขนาดเท่ากับกล่องอีก 1 รอบ 
เพื่อให้กล่องมีความหนา จากนั้นใช้กาวทารอบๆช่องของกล่อง
เพื่อให้กล่องมีแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม




2. ตัดเศษกระดาษลังให้มีขนาด กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร ทั้งหมด 6 ชิ้น
เพื่อทำเป็นฐานรองของลิ้นชัก




3. นำฐานรองลิ้นชักมาทากาวแล้วไปติดข้างในกล่อง โดยกะระยะในการติดฐานรอง
ให้มีขนาดเท่าๆกัน ทั้ง 2 ฝั่ง




4. นำเศษกระดาษมาตัดให้มีขนาด กว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 22 เซนติเมตร ทั้งหมด 6 ชิ้น
มาทำเป็นพื้นของลิ้นชัก เราจะทำพื้นของลิ้นชักทั้งหมด 3 ชิ้น
โดยการนำกระดาษลังที่ตัด มาประกบกัน 2 ชิ้น เพื่อให้พื้นลิ้นชักมีความหนาขึ้น





5. จากนั้นเราก็นำเศษกระดาษลังมาตัดให้มีขนาด กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 22 เซนติเมตร
ทั้งหมด 6 ชิ้น เพื่อประกอบด้านข้างของลิ้นชัก 
ตัดกระดาษลังให้มีขนาด กว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ทั้งหมด 3 ชิ้น
เพื่อนำไปประกอบด้านหลังของลิ้นชัก
และตัดกระดาษลังให้มีขนาด กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 20 เซนติเมตร ทั้งหมด 3 ชิ้น
เพื่อนำไปประกอบด้านหน้าของลิ้นชัก




6. นำฝาขวดนำมาทากาวแล้วประกบกัน 2 คู่ เพื่อทำเป็นฝาเปิดลิ้นชัก ทั้งหมด 3 ชิ้น
แล้วนำไหมพรมมาตกแต่งฝาให้สวยงาม






การนำเสนอผลงาน

Hologram  (ภาพ 3 มิติ)



เตาอบป๊อปคอร์น


รถหนังยาง


เตาปิ้งพกพา


โคมไฟ


ซิงค์ล้างจาน


เตาแก๊ส


สานกระเป๋าจากกล่องน้ำผลไม้


Cashier (แคชเชียร์)


ถังขยะขวดน้ำ


สานเสื่อจากกล่องนม


บัวรดน้ำกระป๋อง


กล่องดินสอขวดน้ำ


โต๊ะเขียนหนังสือ


ตู้ลิ้นชักกล่องกระดาษ


กระเป๋าจากกล่อง


ร้อยเชือกรองเท้า


พื้นทำความสะอาดรองเท้า


ฝาชีขวดน้ำ


ที่คาดผมฝากระป๋อง


ตู้เย็นขวดน้ำ


เคสโทรศัพท์กระป๋อง


หมวกกล่อง




ต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาตั้งโจทย์คิดด้วยเหตุผลและผลจากปัญหา ในหัวข้อดังนี้
" จะทำอย่างไรให้เห็นสิ่งต่างๆ มากขึ้น ในการประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ "

ฉันตั้งโจทย์ว่า ...............
เราจะทำอย่างไร ? ให้มีที่เก็บของอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย จากวัสดุเหลือใช้




ความรู้ที่ได้รับ
        การเรียนในวันนี้เราสามารถนำผลงานของเพื่อนๆ ไปเป็นแนวทางหรือแบบอย่างในการสอน
และยังสามารถนำไปสอนให้ผู้ปกครองหรือคนรุ่นหลังประดิษฐ์ได้ นอกจากจะใช้งานได้แล้ว
ยังทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก