วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

* สอบกลางภาค *

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
วันจันทร์ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

(ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดงาน)
แต่ได้มอบหมายงานไว้ให้และเตรียมนำเสนอในสัปดาห์ถัดไป





วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2559

วันนี้เป็นการเรียนแบบสนุกสนานมากและน่าตื่นเต้นมาก เป็นการเรียนรวมทั้ง 2 เซค
เมื่อนักศึกษามาถึงห้องเรียนแล้วอาจารย์ก็ได้เช็คชื่อการเข้าเรียนพร้อมกับแจก
เอกสารประกอบการเรียนไปด้วย


ต่อมาเป็นการทบทวนเพลงที่อาจารย์ได้แจกให้เมื่อสัปดาห์แรกโดยมีเพลง
1. Hello
2. Good Morning
3. Fly Fly The Butterfly 
ในขณะที่กำลังทบทวนเพลง ก็มีเพื่อนๆเข้าห้องเรียนสาย อาจารย์เบียร์เลยทำโทษ
โดยการให้เต้นเพลง Fly Fly The Butterfly พร้อมมีท่าทางประกอบ 



 (ผีเสื้อน้อย 4 ตัว 555)


เนื้อหาของการเรียน
เรื่อง STEM / STEAM Education


STEM” คืออะไร (ชลาธิป สมาหิโต: 2557)
เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 
  วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ 
  ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
             
                                                
                          
                     STEM Education (สะเต็มศึกษา)
    - Science
         - Technology
           - Engineering
             - Mathematics


         Science (วิทยาศาสตร์)
       - การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ
         เช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ 
         ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ 
         ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์

   Technology (เทคโนโลยี)
       - วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ
         และอุตสาหกรรม (ราชบัณฑิตยสถาน: 2557, 580)
       - สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต
       - ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวม
         ไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไป
         อย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกรกบเหลาดินสอ เป็นต้น

    Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
       - ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา 
         โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง
       - กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับ
         หลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ (ยศวีร์ สายฟ้า: 2557, 1)
       - ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
         มากยิ่งขึ้น
     Mathematic (คณิตศาสตร์)
       - วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ (ราชบัณฑิตยสถาน:2557, 225)
            - เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ 
               รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ

       - ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา 
         เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ
       - เรายังสามารถพบคณิตศาสตร์ได้ในชีวิตประจำวันของเราแทบจะทุกที่ทุกเวลาอีกด้วย 
 “STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
  - “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น 
     หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียน
     ในห้องมากขึ้น
  - การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง
    เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น 
    และใช้วัสดุอุปกรณ์
  - ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน
    และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น
STEAM Education
   - การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art”
   - เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ 
     ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น







STEAM Education (สะตีมศึกษา)
    - Science
    - Technology
    - Engineering
    - Art
    - Mathematics






ต่อมาเป็นการทำกิจกรรมการเรียนรู้

  

 

วันนี้อาจารย์เบียร์ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องของ "ผีเสื้อ" โดยการตกแต่ง
และประดิษฐ์ผีเสื้อจากจานกระดาษ กลุ่มละ 5-6 คน
ก่อนที่จะเริ่มทำกิจกรรม  อาจารย์ได้แนะนำอุปกรณ์ก่อน อุปกรณ์มีดังนี้
1. จานกระดาษ
2. สีเทียน
3. ไม้ไอติม
อุปกรณ์เพิ่มเติมคือ กรรไกร และ เทปกาว

 

กลุ่มของเราก็เริ่มลงมือทำกิจกรรม..........

 

 
(ผีเสื้อกลุ่มของเราสวยมั๊ยคะ อิอิ)

กิจกรรมต่อมา เป็นการสร้างกรงผีเสื้อ โดยอาจารย์ให้นักศึกษาออกแบบกรงผีเสื้อของตัวเอง
และอาจารย์มีอุปกรณ์เพิ่มเติมให้คือ ผ้าขาว และ เชือก 
อุปกรณ์ที่อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมมาเองคือ กิ่งไม้แห้งคนละ 4-5 กิ่ง และอะไรก็ได้
ที่เกี่ยวกับผีเสื้อ

จากนั้นกลุ่มของเราก็เริ่มลงมาสร้างกรงผีเสื้อได้.............

 

 

 

ผลงาน "กรงผีเสื้อ" ของกลุ่มเรา


สมาชิกกลุ่ม


กิจกรรมต่อมา คือ การสร้าง "วัฏจักรวงจรชีวิตของผีเสื้อ"
สร้างโดยโปรแกรม Stop Motion





ความรู้ที่ได้รับ
   1. ได้ความจำในการฝึกร้องเพลง
   2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง STEM / STEAM Education ว่าสามารถนำไปใช้การเรียนการสอนได้  
   3. ได้เรียนรู้ของการใช้จินตนาการและการใช้ศิลปะ
   4. ได้เรียนรู้ในการใช้โปรแกรม Stop Motion
   5. ได้ความสามัคคีในการทำงานเป็นกลุ่ม

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก




บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559
(ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย)

เนื้อหาของการเรียน
เรื่อง การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

การเล่น
กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
ทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
ปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเล่น
    Piaget กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
- สำรวจ จับต้องวัตถุ
- ยุติลงเมื่อเด็ก 2 ขวบ
  2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
  - อายุ 1 ½ - 2 ปี
  - การเล่นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
  - เล่นด้วยความพอใจมากกว่าคำนึงถึงความเป็นจริง
  3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
  - 2 ขวบขึ้นไป
  - สามารถพัฒนาการเต็มที่เมื่ออายุ 3-4 ขวบ
  - เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถจำและสมมติสิ่งของเครื่องเล่นต่างๆที่ไม่มีอยู่ที่นั่น
  - ลักษณะการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ที่นับว่าเป็นพัฒนาการสูงสุด คือ การเล่นบทบาทสมมติ
ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  - การเล่นกลางแจ้ง
  - การเล่นในร่ม
การเล่นในร่ม
  - การเล่นตามมุมประสบการณ์
  - การเล่นสรรค์สร้าง
การเล่นสรรค์สร้าง
  - การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
  - ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
  - เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง (Formann and Hill, 1980)
  1. สภาวะการเรียนรู้
- เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
- การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
- การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
- การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

- การเรียนรู้เหตุและผล

การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน

    






การเรียนรู้เหตุและผล

        


การเรียนรู้เหตุและผล
     

   2. พัฒนาการของการรู้คิด
- ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก



   3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
- กระบวนการเรียนรู้
- กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
       - เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
       การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
       การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
 - ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
 - ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
 - มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
 - มีการสรุปท้ายกิจกรรม



บันทึการเรียนครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เมื่อเข้ามาถึงห้องเรียนแล้ว อาจารย์เบียร์ก็ได้แจกใบปั้ม หรือใบเช็คชื่อของการเข้าเรียน
และได้แจกเนื้อเพลงให้คนละ 1 แผ่น พร้อมกับชี้แจงรายละเอียดของเนื้อหาการเรียนการสอน
ของวิชา ความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชานี้จะมีอาจารย์ผู้สอนอยู่ 2 ท่าน
คือ อาจารย์เบียร์และอาจารย์จ๋า


พอได้เนื้อเพลงมาแล้ว อาจารย์เบียร์ก็สาธิตการร้องพร้อมกับให้ทำนองการร้อง
มีทั้งหมด 5 เพลง ดังนี้
1. Hello (สวัสดี)
2. Good Morning (สวัสดีตอนเช้า)
3. Fly Fly The Butterfly (ผีเสื้อบิน)
4. Incy Wincy Spider (แมงมุมลาย)


เนื้อหาของการเรียน
เรื่อง การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
- Jellen and Urban
        ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดอย่างอิสระในเชิงนวัตกรรม จินตนาการ
- De Bono
        ความสามารถในการคิดนอกกรอบเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา
อุษณีย์  โพธิสุข
        กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน 
        เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และต้องมีอิสรภาพทางความคิด
คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
คุณค่าต่อสังคม
- คุณค่าต่อตนเอง
- ทำให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
- ช่วยลดความเครียดทางอารมณ์
- มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง
- นำมาซึ่งความเป็นผู้นำ 
- ตะหนักถึงคุณค่าของตนเอง
- ช่วยส่งเสริมสุนทรียภาพ
- สร้างนิสัยในการทำงานที่ดี
- พัฒนากล้ามเนื้อ
- เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้า ได้ทดลอง ได้ประสบความสำเร็จ
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
  Guilford ได้แบ่งองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์เป็น 4 ด้าน
                1. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency)
                     - ด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
                     - ด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (Association Fluency)
                     - ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
ด้านการคิด (Ideation Fluency)
 2.ความคิดริเริ่ม (Originality)
ความคิดแปลกใหม่และแตกต่างไปจากความคิดธรรมดา
                   หรือแตกต่างจากบุคคลอื่น
                 3ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility)
ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง (Adapture Flexibility)
4.  ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)
ความคิดที่เกี่ยวกับรายละเอียดที่ใช้ในการตกแต่ง
เพื่อทำให้ความคิดริเริ่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
  Torrance ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะแรกเกิด – 2 ขวบ
ระยะ 2 -4 ขวบ
ระยะ 4-6 ขวบ
แรกเกิด-2ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
2-4 ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่น ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
4-6 ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น การทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่อมโยงสิ่งต่างๆได้
  แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
ลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
  Torrance ได้แบ่งเป็น 5 ขั้น
ขั้นที่ 1 แสดงออกอย่างอิสระทางความคิด ไม่คำนึงถึงคุณภาพ
ขั้นที่ 2 งานที่ผลิตต้องอาศัยทักษะบางอย่าง
ขั้นที่ 3 ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ซ้ำใคร
ขั้นที่ 4 ปรับปรุงขั้นที่ 3
ขั้นที่ 5 คิดสิ่งที่เป็นนามธรรมขั้นสูงสุด คิดหลักการใหม่ๆ
ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์
ก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่
อำนวยประโยชน์สุขให้แก่บุคคล
ช่วยให้เข้าใจปัญหาและแก้ปัญหาได้ดี
ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จ
ช่วยให้ปรับตัวได้ดี
แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
    แนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford
   อธิบายความสามารถของสมองมนุษย์เป็นแบบจำลอง 3 มิติ
มิติที่ 1 เนื้อหา
(ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด)
     - ภาพ
ภาษสัญลักษณ์
ภาษา
- พฤติกรรม
มิติที่ 2 วิธีคิด
(กระบวนการทำงานของสมอง)
การรู้และเข้าใจ
การจำ
การคิดแบบอเนกนัย
การคิดแบบเอกนัย
การประเมินค่า
มิติที่ 3 ผลของการคิด
(การตอบสนองต่อข้อมูลหรือสิ่งเร้า)
หน่วย
จำพวก
ความสัมพันธ์
ระบบ
การแปลงรูป
การประยุกต์
   ทฤษฎี Constructivism
เด็กเรียนรู้เอง
เด็กคิดเอง
ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน
สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
   ทฤษฎีของ Torrance
    ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา แล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็น
 สมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ
ขั้นที่ 1 การพบความจริง
ขั้นที่ 2 การค้นพบปัญหา
ขั้นที่ 3 การตั้งสมมติฐาน
ขั้นที่ 4 การค้นพบคำตอบ
ขั้นที่ 5 ยอมรับผล
บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
เด็กรู้สึกปลอดภัย
ให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว
ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
ขจัดอุปสรรค
ไม่มีการแข่งขัน
ให้ความสนใจเด็ก
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
มีไหวพริบ
กล้าแสดงออก
อยากรู้อยากเห็น
ช่างสังเกต
มีอารมณ์ขัน
มีสมาธิ
รักอิสระ
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
   Torrance ได้กล่าวถึงลักษณะของกิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ไว้ 3 ลักษณะ
ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง  (Incompleteness, Openness)
ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ลักษณะที่ 3 การใช้คำถามของเด็ก
แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torranceส่งเสริมให้เด็กถาม
เอาใจใส่ความคิดของเด็ก
ยอมรับคำถามของเด็ก
ชี้แนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง
แสดงให้เด็กเห็นว่าความคิดของเด็กมีคุณค่า
การตั้งคำถาม 5W1H
- Who ใคร
- What อะไร
- Where ที่ไหน
When เมื่อไหร่
- Why ทำไม
- How อย่างไร


 ต่อมาเป็นการทำกิจกรรมการเรียนรู้



อาจารย์ให้จับคู่กัน 2 คนแล้วแจกกระดาษ 100 ปอนด์ให้คู่ละ 1 แผ่น และสีเทียนที่อาจารย์
เตรียมไว้ให้พร้อมกับอธิบาย
การทำกิจกรรมให้ดังนี้ 
1. อาจารย์จะเปิดเพลงให้นักศึกษาฟัง
2. ระหว่างที่ฟังเพลง ให้นักศึกษาใช้สีเทียนเขียนลากเส้นไปเรื่อยๆจนกว่าเพลงจะจบ
โดยนักศึกษาจะลากเป็นเส้นแบบไหนก็ได้
3. เมื่อเพลงจบแล้วให้นักศึกษาสังเกตผลงานของตัวเองว่า เส้นที่เราลากไปนั้นสามารถเป็น
รูปอะไรได้บ้าง แล้วให้นักศึกษานำสีเทียนมาวาดรูปภาพที่สังเกตได้ตามรอยที่ลากไว้
4. เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ให้ตัวแทนของแต่ละคู่ออกมานำเสนอผลงานของตัวเอง





(นี่คือผลงานของคู่ฉัน รูปที่คู่เราสังเกตและวาดได้คือ ปลาหมึกกำลังกินมดเอ็กซ์)


ผลงานของเพื่อน


การนำเสนอผลงาน 












ความรู้ที่ได้รับ
   1. มีจินตนาการในการวาดภาพ
   2. มีสมาธิในการเรียน
   3. มีความสามัคคีและความร่วมมือในการทำงานคู่
   4. การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

การประเมิน
 - ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังครูอธิบายและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
 - ประเมินเพื่อน  : เพื่อนๆน่ารัก ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
 - ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมเนื้อหาการสอนมาครบถ้วนและตรงต่อเวลา ให้คำแนะนำกับ
                            นักศึกษาเป็นอย่างดี