วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

(ไม่มีบันทึกการเรียนเนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2559

         เมื่อเข้ามาถึงห้องเรียนแล้ว อาจารย์ก็ให้ปั้มตัวปั้มของการเข้าเรียนตรงต่อเวลา 
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ทบทวนความรู้เดิมจากการทำกิจกรรมเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา 
ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้คนละ1 แผ่น และให้ออกแแบบตัวเลขของตัวเอง
คนละ 1 ตัวเลขโดยที่ไม่ซ้ำกับเพื่อน เมื่อออกแบบตัวเลขเสร็จแล้วก็นำผลงานของตัวเอง
ไปติดที่กระดานหน้าห้องเรียนพร้อมกับเรียงตัวเลข 0-9 ให้ได้ 3 กลุ่ม


        ต่อมา อาจารย์ให้นั่งตามกลุ่มที่เรียงตัวเลข 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน แล้วให้นำผลงาน
ของตัวเองมาตกแต่งระบายสีให้สวยงามพร้อมกับตัดให้เป็นรูปร่างรูปทรง

(ฉันออกแบบเลข 2 เป็นเถาวัลย์)

      จากนั้นให้แต่ละกลุ่มระดมความคิดเห็นกันว่าจะทำอะไรเป็นสื่อการสอนให้กับเด็ก
โดยการนำตัวเลขของกลุ่มตนเองทั้งหมด 10 ตัวเลขมารวมกันแล้วทำสื่อการสอน 
เมื่อระดมความคิดเห็นเสร็จแล้วก็ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอว่าจะทำ
สื่อการสอนอย่างไร



กลุ่มที่ 1 
สื่อการสอน ติดภาพตัวเลขและใช้ไม้ไอติมแทนจำนวนเป็นรูปเรขาคณิต



กลุ่มที่ 2
สื่อการสอน ใช้ไม้ไอติมแทนจำนวนในตารางตามภาพตัวเลข



กลุ่มที่ 3 
สื่อการสอน นิทานตัวเลขมหัศจรรย์



ความรู้ที่ได้รับ
       - ก่อนที่ครูจะสอน ครูต้องตั้งประเด็นหรือตั้งโจทย์มาก่อนว่าจะสอนอะไรกับเด็ก
        - การออกแบบตัวเลขได้อะไร?
           ได้  1. การออกแบบ
                 2. ความคิดที่แตกต่าง
                 3. ความรู้สึก
                 4. จินตนาการ
                 5. การเปรียบเทียบ

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559
อาจารย์ได้ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ก่อนที่จะเริ่มทำกิจกรรมต่อไป

      ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิด
ได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการ
ได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่
หรือรูปแบบความคิดใหม่ 
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1. ความคิดริเริ่ม  มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง 
    ประยุกต์เป็นความคิดใหม่
2. ความคิดคล่องแคล่ว ทำงานและคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว รวดเร็ว
3. ความคิดยืดหยุ่น  มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง

4. ความคิดละเอียดลออ  มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต 
    ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน
*เพิ่มเติม*
    - ครูต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีวัสดุที่หลากหลายหรืออุปกรณ์ที่หลากหลายเพื่อให้เด็ก
      เกิดความคิด
    - ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากความคิดริเริ่มเป็นอันดับแรก
    - การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความอยู่รอด

กิจกรรมการเรียนการสอน


ให้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน และจัดฐานกิจกรรมไว้ 4 ฐาน ให้นักศึกษา
ทำกิจกรรมกันครบทุกกลุ่มวนเปลี่ยนไปทีละฐาน

ฐานที่ 1 เป่าฟองสบู่
ใช้สีผสมกับน้ำยาล้างจานแล้วใช้หลอดจุ่มที่สีจากนั้นมาเป่าลงบนกระดาษ
เพื่อให้เกิดฟองตามสีที่ต้องการ



(ผลงานของฉัน)

ฐานที่ 2 วาดภาพแมลง
ตัดกระดาษแข็งให้เป็นวงกลมแล้ววาดภาพแลงที่ตนเองชอบลงบนกระดาษแข็ง 
จากนั้นตัดแกนกระดาษทิชชูให้พอดี ไม่เล็กและใหญ่เกินไป 
พร้อมกับเจาะรูแกนกระดาษทิชชูและร้อยเชือกให้เรียบร้อย 
จากนั้นนำรูปแมลงไปติดกับแกนกระดาษ เราก็จะได้แมลงที่เคลื่อนที่ได้


(ผลงานของฉัน)

ฐานที่ 3 พิมพ์มือผีเสื้อ
นำสีทาลงบนฝ่ามือทั้ง 2 ข้างแล้วแปะที่กระดาษสีขาวโดยให้นิ้วโป้งทั้ง 2 ข้างติดกัน
 และตัดกระดาษตามรูปมือของเรา จากนั้นตัดเศษกระดาษเป็นเส้นยาวๆ
 แล้วนำมาติดที่กระดาษด้านหลังรูปมือทั้ง 2 ฝั่ง เราก็จะได้ผีเสื้อบินได้



 (ผลงานของฉัน)


ฐานที่ 4 ประดิษฐ์สื่อจากจานกระดาษ
เราสามารถประดิษฐ์อะไรก็ได้โดยใช้จานกระดาษ 1 ใบ มาดัดแปลงให้เป็นสื่อ
ที่สามารถใช้สอนได้ สื่อที่ฉันทำคือ "นาฬิกาจานกระดาษ"


(ผลงานของฉัน)


ความรู้ที่ได้รับ
     สามารถนำการทำกิจกรรมในวันนี้ไปจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้ 
โดยนำกิจกรรมการเรียนในวันนี้ไปเป็นแนวทางในการสอนเด็กได้

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่การเรียนการสอน อาจารย์ได้ให้นำเสนอกิจกรรม 
STEM & STEAM แต่ละหน่วยที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
  โดยมีทั้งหมด 6 กลุ่ม ให้เวลาในการนำเสนอและจัดกิจกรรมกลุ่มละ 30 นาที

กลุ่มที่ 1 หน่วยบ้าน
เป็นกิจกรรมสร้างบ้าน 



(ผลงานของกลุ่มเรา)

กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้
เป็นกิจกรรมการทำมงกุฎผลไม้



 (ผลงานของกลุ่มเรา)

กลุ่มที่ 3 หน่วยยานพาหนะ
เป็นกิจกรรมการทำหุ่นนิ้วยานพาหนะ


(ผลงานของกลุ่มเรา)

กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้
เป็นกิจกรรมการทำโมบายผลไม้


(ผลงานของกลุ่มเรา)

กลุ่มที่ 5 หน่วยปลา
เป็นกิจกรรมการตกแต่งจานกระดาษ







กลุ่มที่ 6 หน่วยไข่
เป็นกิจกรรมการทำไข่ล้มลุก



(ผลงานของกลุ่มเรา)


ความรู้ที่ได้รับ
     ได้รับความรู้ในเรื่องของ STEM & STEAM ว่าสามารถนำไปบูรณาการในวิทยาศาสตร์ ศิลปะ
คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และการออกแบบได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำกิจกรรมไปใช้ในการเรียน
การสอนในอนาคตได้อีกด้วย

การประเมิน
   - ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย 
   - ประเมินเพื่อน   : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
   - ประเมินอาจารย์ : ตรงต่อเวลา เตรียมการสอนมาได้ครบถ้วนและดีมาก